เรามาดูสาเหตุหลักๆจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ซึ่งไม่มีบริษัทไหนรับงานแล้วอยากให้ตึกถล่ม เพราะทำให้เกิดความสูญเสีย ด้านเศรษฐกิจ สูญเสียผู้คน ซึ่งเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่
ผู้บริโภคเสียความมั่นใจต่อธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ทำให้โครงการคอนโดมิเนียม ต้องชะลอตัวลง อนาคตผู้บริโภคอาจจะต้องดูแบบโครงสร้างเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม
แต่เหตุการณ์ครั้งนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากภัยธรรมชาติ แต่เราระวังได้ไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้หลายปี เพราะเหตุการณ์แผ่นดินไหวไม่เคยเกิดขึ้นหนักขนาดนี้มาก่อน ปกติเกิดขึ้นที่ต่างประเทศ
บริษัทเปิดมา 20ปี ไม่เคยเจอภัยธรรมชาติที่หนักขนาดนี้มาก่อน
แต่บริษัทคิดเหตุการณ์นี้ไว้ล่วงหน้า ตั้งแต่เปิดบริษัทมา ซึ่งเกิดจากการที่ร่วมไปดูงานที่ภาคพื้นเอเชีย ที่เกิดภัยพิบัติ เพื่อรองรับโครงสร้างที่เกิดภัยพิบัติ
บริษัท จิตต์พิสุทธิ์ กรุ๊ป จำกัด ได้วิเคราะห์ขึ้นเองเพื่อเป็นวิทยาทาน จากประสบการณ์ 20ปี (สงวนสิทธิ์ไม่ได้พาดพิงถึงบริษัทอื่นๆ)
การวิเคราะห์เหตุถการณ์ในครั้งนี้ บริษัทได้วิเคราะห์ หลักๆคือ
-ความประมาท
-การลงทุนวัสดุของใช้
-ผู้ดูแลหรือมีส่วนเกี่ยวข้องงานก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชน
เรามาดูมาตราฐานการสร้างตึกสูง ก่อนที่จะสร้างหรือก่อนลงมือออกแบบ เราต้องรู้บริเวณที่จะก่อสร้างอาคารสูง เพราะพื้นที่แต่ละพื้นที่มีพื้นผิวชั้นดินไม่เหมือนกัน
ถ้าตามหลักขั้นตอนแรก ต้องให้วิศวกรธรณีวิทยา ไปเจาะสำรวจบริเวณที่จะทำการก่อสร้าง มาเข้าวิจัย ว่าการอัดแน่นของชั้นดินพื้นที่ก่อนเป็นอย่างไรบ้าง
เพราะคือหัวใจหลักของแบบโครงสร้าง แต่ส่วนมากบริษัทไม่ค่อยคำนึงถึง ทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนน้อยที่จะรู้จักวิชาชีพนี้ และมองข้ามการสำรวจพื้นที่
อย่างเช่น พื้นที่ติดน้ำ พื้นที่ในเมืองหลวง พื้นที่ต่างจังหวัด
พื้นดินเมืองหลวงจะเป็นพื้นดินทรายและดินเหนียว พื้นที่ต่างจังหวัดจะเป็นพื้นดินเป็นหินซะส่วนใหญ่ ออกมาการวิจัยมา มาให้ผู้ออกแบบ
ผู้ออกแบบมีหลายประเภท วิศกรทุกประเภท สำคัญในการเอาดินที่ก่อสร้างมาคำนวน เพราะว่าส่วนมากผู้ออกแบบชอบเอาแบบคล้ายๆกัน แต่งเติมใส่ใหม่ แบบที่ออกมาขออนุญาตทางเขตพื้นที่ที่ก่อสร้าง เราไม่พูดคำว่า การเอื้อประโยนช์ทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างเช่นแบบที่ขออนุญาติก่อสร้างจริง
กับแบบที่บริษัทได้รับเหมาอาคารที่จะก่อสร้าง ดูได้เลยว่าจะมีแบบอีกแบบนึง 90% เป็นแบบนี้ เพราะการขออนุาญาตต้องโอเวอร์เกิน 100% ซึ่งกับการสร้างในงบประมาณไม่ได้
เลยมีแบบ 2ฉบับ ทั้งแบบที่ขออนุญาตและแบบสร้างจริง เพื่ออยู่ในงบประมาณ
เรามาดูสาเหตุที่ตึกถล่มในครั้งนี้ เพราะทำไมถึงเอ่ยคำว่า ภาครัฐเอื้อประโยชน์ ภาคเอกชน เนื่องจากขออนุญาตก่อสร้างนาน
เรามารู้จักและป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต
1.การออกแบบโครงสร้างอาคาร
เราต้องมองว่าตึกนี้มีน้ำหนักเท่าไหร่ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือฐานรากที่มั่นคง
เรามารู้จักองค์ประการสร้างสิ่งปลูกสร้างทุกอย่างเหมือนกันหมดขั้นตอนการทำงาน สิ่งที่จะปลูกสร้างคืออะไร เรามาแก้ไข้เพื่อไม่ให้เหตุการณืแบบนี้ขึ้นอีกในอนาคตกันดีกว่า
การออกแบบต้องคำนวน เช่น โครงสร้างตัวอาคาร ส่วนประกอบของตัวอาคารมีอะไรบ้างที่มีน้ำหนัก
ปูน เหล็ก บางคนคิดว่างานสถาปัตยกรรมไม่คำนึงถึงข้อนี้ ตัวอาคาร1อาคาร สำคัญที่สุกคือฐานราก เพราะว่าต้องรับน้ำหนักทั้งอาคาร
เช่น ผู้ออกแบบจะต้องรู้ว่าจากชั้นบนสุดลงมาถึงฐานรากมีน้ำหนักเท่าไหร่ แล้วเอาค่ามาเฉลี่ยน้ำหนักที่ลงสู่ฐานรากคือ เข็ม ว่าจะรับน้ำหนัก หลุมนึง จะใช้เข็มกี่ต้น ลึกลงไปเท่าไหร่ ถึงจะรับน้ำหนักอาคารนี้ได้และส่วนองค์ประกอบที่รับน้ำหนักของที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
เช่น โครงสร้างทั้งหมดของตัวอาคาร ทั้งงานสถาปัตยกรรม วัสดุที่ใช้ งานระบบไม่ใช่ว่าไม่สำคัญ งานระบบทุกอย่างมีน้ำหนักอย่ามองข้าม และน้ำหนักในอนาคต
1. น้ำหนักคงที่ (Dead Load) – เป็นน้ำหนักของโครงสร้างและสิ่งของที่ติดตั้งถาวร เช่น คาน เสา พื้น ผนัง และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ
2. น้ำหนักจร (Live Load) – เป็นน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น คน อุปกรณ์สำนักงาน เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ รวมถึงภาระอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานอาคาร3.การเลือกวัสดุที่จะเป็นฐานรากที่สำคัญมีอะไรบ้าง
เข็มมีหลายประเภท
1. เสาเข็มหกเหลี่ยม เป็นเสาเข็มราคาถูกที่มักใช้ในการ ต่อเติมอาคารขนาดเล็ก ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเท่ากับเสาเข็มประเภทอื่นo มีโอกาสเกิดการทรุดตัวภายใน 6 เดือนแรก โดยเฉลี่ยจะทรุดทีละ 1-2 เซนติเมตร มักก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต เช่น พื้นทรุด ผนังร้าว หรือโครงสร้างต่อเติมใหม่เกิดการทรุดตัว ตั้งแต่6เดือนแรก จะลงทีละ 1-2เซนติเมตร จะมองไม่เห็นภาพ ผ่านไปสักพักจะเกิดการแตกแยกในส่วนต่อเติม
เสียน้อยเสียง่ายแต่ตอนหลังต้องเสียเงินทำใหม่อีก
มีอีก1เข้มที่ตอนนี้มาแรงในงานต่อเติมหรือพื้นที่ที่จำกัด คือเข็มไมโครพาย จะมีทั้งตัว H และ ตัว I ซึ่งราคาแพง แต่ก็มีข้อเสียคือการ เชื่อมต่อเป็นหลายช่วง (คาดว่าทุก2เมตร ไม่ค่อยแน่ใจนะคะเพราะว่าไม่ค่อยได้ใช้)
เพราะเข็มพวกนี้ส่วนมากใช้พื้นที่จำกัด
และมีอีก1เข็มที่ใช้โครงสร้างขนาดใหญ่ คือเข็มตรอกด้วยปั่นจั่น ซึ่งเป็นเข็มตัว Hและ ตัวI ซึ่งมีความยาวอยู่ที่ 10-11เมตร นำมาต่อด้วยกันด้วยวิธีเชื่อมต่อเพลเหล็ก 1ครั้ง ก็มีข้อเสีย ซึ่งส่วนที่ต่อพอโดนแรงกระแทกจะเกิดรอยแตกในชั้นดิน แต่ขึ้นอยู่กับผู้ดูแล
แต่เข็มปั่นจั่นแบบนี้ ใช้พื้นที่บริเวณนั้นที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างในรัศมี 1กิโลเมตร และมาถึงเข็มที่ใช้กันมากที่สุดและดูว่าปลดภัย และรับน้ำหนักได้จริง คือเข็มเจาะ มีหลายขนาด แต่ส่วนที่ดีคือได้รับเข็มที่รับน้ำหนักได้จริง แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบโครงสร้างเพราะมีส่วนประกอบ เหล็กกับปูน และวิธีการทำที่ถูกต้อง แต่มีราคาที่สูงมาก
และยังมีอีก 1เข็ม คือ เสาเข็มเหล็ก แต่คนใช้น้อย ไม่มีใครรู้ เพราะใช้กับงานที่แก้ไขขกับงานที่มีฐานรากอยู่แล้ว เลยไม่ค่อยมีใครรู้และราคาแพงมาก
มาถึงข้อสรุปนะคะ สิ่งที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ คือการสูญเสียครั้งใหญ่ของภัยธรรมชาติและความประมาทของมนุษย์
• หลายคนคิดว่า ประเทศไทยไม่มีแผ่นดินไหว จึงละเลยมาตรฐานความปลอดภัยของโครงสร้าง• หลายคนเลือกช่างจากราคาถูก โดยไม่คำนึงถึง คุณภาพงาน
ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้าง เช่นถ้าเป็นงานของภาครัฐ ถ้าไม่ใช่บริษัทที่เป็นเจ้าประจำอยู่แล้ว หรือมีเส้นสายของภาครัฐ ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้งานภาครัฐ ซึ่งตนไทยรู้กันอยู่ เรียกว่าฮั้วะประมูล มีข่าวออกมาประจำ
• บริษัทใหญ่บางแห่งไม่ได้ทำงานเอง แต่ ส่งงานต่อให้ผู้รับเหมาช่วงต่อบริษัทเล็กๆ• มีทั้งช่างที่มีฝีมือจริง และช่างที่ ใช้รูปหลอกลวง เพราะบริษัทที่มีความเป็นมืออาชีพ เขาจะไม่เอาผลงานไปลงในFacebook (เคยมีคนเอารูปงานบริษัทและเอาชื่อบริษัทไปใช้ ก่อให้เกิดความเสียหาย)
ปัญหาที่เกิดขึ้น ทุกฝ่ายมีส่วนผิด ถ้าไม่มีผลประโยนช์ร่วมกันก็คงไม่เกิดขึ้น
✅ เจ้าของโครงการควรศึกษาและเลือกช่างที่มีคุณภาพโครงสร้างเหล็กส่วนใหญ่เป็น งานดีไซน์พิเศษ และมีต้นทุนสูง
ความรู้ที่ดีช่วยให้การตัดสินใจในงานก่อสร้างมีคุณภาพมากขึ้นค่ะ
ภาพ: ไทยรัฐออนไลน์